วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สรุป : บทที่5: E-commerce


E-commerce

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Business)


คือกระบวนการดําเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทํางานร๋วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic Commerce)

คือ การทําธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทําเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนําสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจํากัดของระยะทาง และเวลาลงได้

กรอบการทํางาน (E-Commerce Framework)





โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
องค์ประกอบหลักสําคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนํามาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่
1. ระบบเครือข่าย (Network)
2. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
3. การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format & Content Publishing)
4. การรักษาความปลอดภัย (Security

การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
ส่วนของการสนับสนุนจะทําหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนช่วยของการประยุกต์ใช้งานให้ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน สําหรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
2. การวางแผนกลยุทธ์E-Commerce Strategy
3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์E-Commerce Law
4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
5. การโปรโมทเว็บไซต์Website Promotion


การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


The Dimensions of E-Commerce






ประเภทของ E-Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ค้ากําไร (Profits Organization
1. Business-to-Business (B2B)
2. Business-to-Customer (B2C)
3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
4. Customer-to-Customer (C2C)
5. Customer-to-Business (C2B)
6. Mobile Commerce
กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากําไร (Non-Profit Organization)
1. Intrabusiness (Organization) E-Commerce
2. Business-to-Employee (B2E)
3. Government-to-Citizen (G2C)
4. Collaborative Commerce (C-Commerce)
5. Exchange-to-Exchange (E2E)
6. E-Learning



E-Commerce Business Model

แบบจําลองทางธุรกิจ หมายถึง วิธีการดําเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้อันจะทําให้บริษัทอยู่ต่อไปได้นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ

ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก
ปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค้าสมาชิกได้ก็คือ การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทําให้ลูกค้ายอมจ่ายค้าสมาชิกดังกล่าว เช่น ต้องมีสารสนเทศที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น (Wall Street Journal หรือ Business Online) หรือใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการรักษาฐานลูกค้าไว้ เช่น AOL

ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
เป็นธุรกิจ E-Commerce ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ E-Commerce อื่น ตัวอย่างของธุรกิจพื้นฐานในการศึกษา ได้แก่ Consonus (ธุรกิจศูนย์ข้อมูล และ ASP ), Pay Pal (ธุรกิจชำระเงินออนไลน์), Verisign (ธุรกิจออกใบรับรองดิจิตัล) เป็นต้น ปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาด E-Commerce

ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบของธุรกิจ E-Commerce ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เมื่อกล่าวถึงธุรกิจ E-Commerce คนทั่วไป จึงมักจะนึกถึงธุรกิจในกลุ่มนี้ ตัวอย่างของธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Online Retailer) ในกรณีศึกษาได้แก่ Amazon (หนังสือ), 7dream (ของชํา),EthioGift (ของขวัญวันเทศกาลของเอธิโอเปีย) เป็นต้น ปัจจัยในความสําเร็จของโมเดลทางธุรกิจดังกล่าวมักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายให้แก่ลูกค้า

ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา
ปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจในแนวเดียวกัน ในขณะที่สามารถควบคุมต้นทุนได้ตัวอย่างของธุรกิจที่หารายได้จากค่าโฆษณาที่ยังคงสามารถทํากําไรได้คือ Yahoo! ซึ่งเป็นเว็บท่า (Portal Site) ที่มีชื่อเสียงมานานและมี ต้นทุนในการสร้างเนื้อหาน้อย เนื่องจากใช้วิธีการเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาของผู้อื่น

บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจัยที่สําคัญอีกประการหนึ่งต่อความสําเร็จของบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือ การกําหนดมาตรฐานของข้อมูลและโปรแกรมประยุกต์ของบริการต่างๆ ที่ต้องทํางานร่วมกันให้มีความสอดคล่องกัน เช่น ในกรณีของ eCitizen ซึ่งสามารถ ทําให้เกิดบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (Single Stop Service) ในกรณีศึกษา ได้แก่MERX (การให้ข้อมูลการประกวดราคาของโครงการรัฐ), Buyers.Gov(การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ) และ eCitizen (การให้บริการของรัฐแก่ประชาชน)

ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
ปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือความสามารถในการหาสินค้าที่มีคุณภาพดีแต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย ซึ่งจําเป็น ต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจํานวนมาก ส่วนปัจจัยในความสําเร็จของธุรกิจประมูลแบบ C2C คือความสามารถในการสร้างความภักดีของลูกค้าและป้องกันการฉ้อโกงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ตัวอย่างของธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์ แบบ B2C ในกรณีศึกษาได้แก่Egghead (สินค้าอิเล็กทรอนิกส์) และ Priceline (สินค้าท่องเที่ยว) เป็นต้น

ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจัยในความสําเร็จของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์คือ ความสามารถในการดึงดูดผู้ซื้อผู้ขายจํานวนมากให้มาเข้าร่วมในตลาดทําให้ตลาดมีสภาพคล่อง (liquidity) มากพอ ซึ่งจําเป็นต้องอาศัยการมีควาสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ซื้อ หรือผู้ขายแล้วแต่กรณี ในกรณีศึกษาได้แก่ PaperExchange (กระดาษ), FoodMarketExchange (อาหาร), DoubleClick (แบนเนอร์ในอินเทอร์เน็ต), Half.com (สินค้าใช้แล้ว), และ Translogistica (ขนส่งทางบก)

ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity
รูปแบบในการใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดมักได้แก่ การบริหารซัพพลายเช่น (Supply Chain Management) และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) ตัวอย่างของการบริหารซัพพลายเชนในกรณีศึกษาได้แก่ Dell (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล), Boeing (เครื่องบิน), TESCO (ของชํา), W.W.Grainger (สินค้า MRO), และ GMBuyPower (ยานยนต์) ระบบบริหารซัพ
พลายเชนดังกล่าวมักจะช่วยลดต้นทุนในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ ลดต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Inventory) เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าส่วนตัว อย่างของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่นําเสนอในการศึกษาได้แก่ CISCO(อุปกรณ์โทรคมนาคม) Southern Airlines (สายการบิน) Wells Fargo (ธนาคาร), GEAppliance (ศูนย์บริการลูกค้า), DaimlerChrysler (ยานยนต์), The Value System (เทคโนโลยีสารสนเทศ) และ Cement Thai Online (อุปกรณ์ก่อสร้าง) ระบบบริการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้สามารถให้บริการลูกค้าโดยมีต้นทุนที่ลดลงจากการลดพนักงาน หรือสํานักงานทางกายภาพ ในขณะที่สามารถเพิ่มหรือรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าได้การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจากการนําเอาระบบ E-Commerce มาใช้ในทั้งสองลักษณะดังกล่าวจะช่วยให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มผลิตภาพของธุรกิจจาก E-Commerce จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากธุรกิจไม่มีระบบภายใน (Back Office) ที่พร้อม ซึ่งถือเป็นปัจจัยในความสําเร็จที่สําคัญที่สุดประการหนึ่ง

ข้อแตกต่างระหว่างการทําธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce

ข้อดี
1. สามารถเปิดดําเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2. สามารถดําเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3. ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ํา
4. ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดําเนินการ
5. ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก

ข้อเสีย
1. ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2. ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3. ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชําระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4. ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดําเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5. การดําเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น